เซต้ากันดั้มเป็นโมบิลสูทสำคัญที่พัฒนาโดยบริษัทแอนาไฮม์อิเล็กทรอนิกตามโครงการโปรเจกต์เซต้าเพื่อ พัฒนาโมบิลสูทที่สามารถแปลงร่างได้ ในช่วงแรกของการพัฒนาเซต้ากันดั้มนั้นประสพปัญหาสำคัญที่โครงสร้างซึ่งใช้ กับโมบิลสูทโดยทั่วไปนั้นไม่สามารถใช้การได้ จนกระทั่งได้โครงสร้างแบบมูฟเอเบิ้ลเฟรมของกันดั้มมาร์คทูว์มาศึกษา ซึ่งในขณะนั้นคามิว บีดันนัก บินของกลุ่มต่อต้านสหพันธ์โลกซึ่งเป็นอดีตผู้ชนะการแข่งขันออกแบบจูเนียร์โม บิลสูทได้ออกแบบเซต้ากันดั้มไว้เป็นโมบิลสูทในจินตนาการ แต่อัสโตนาจิ เมดอสโซ วิศวกรประจำยานอากาม่าได้นำมาปรับปรุงแล้วส่งไปให้แอนาไฮม์อิเล็กทรอนิ กพิจารณาและกลายเป็นรูปแบบของเซต้ากันดั้มที่สมบูรณ์
เซต้ากันดั้มมีไบโอเซ็นเซอร์ที่เป็นระบบไซคอมมิวขนาดเล็กทำให้นักบินที่ เป็นนิวไทป์สามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เซต้ากันดั้มสามารถแปลงร่างเป็นยานเวฟไรเดอร์เพื่อเร่งความเร็วและสามารถบิน ในชั้นบรรยากาศโลกได้ ซึ่งเกราะด้านหลังของเซต้ากันดั้มจะเป็นพลังก์อาร์เมอร์สำหรับกันความร้อน ขณะการเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกในร่างเวฟไรเดอร์ ดาบบีมเซเบอร์ของเซต้ากันดั้มจะเก็บไว้ที่เอวและสามารถใช้ยิงเป็นบีมกันใน ร่างเวฟไรเดอร์ได้ ที่แขนของเซต้ากันดั้มติดตั้งเกรเน็ดลันเชอร์สองลำกล้อง และสามารถใช้งานไฮเปอร์เมก้าลันเชอร์ซึ่งเป็นบีมลันเชอร์อานุภาพสูงซึ่ง พัฒนามาจากเมก้าบาซูก้าลันเชอร์ของเฮียะกุชิกิให้ มีขนาดเล็กลงและใช้งานได้ง่ายขึ้น ส่วนปลายของไฮเปอร์เมก้าลันเชอร์ติดบีมเซเบอร์ไว้จึงสามารถใช้เป็นเหมือนดาบ ยาวได้ บีมไรเฟิลของเซต้ากันดั้มก็สามารถใช้เป็นบีมเซเบอร์ได้
เซต้ากันดั้มได้รับการประจำการบนยานอากาม่าโดยเป็นโมบิลสูทประจำตัวของคา มิว บีดันตลอดช่วงศึกกรีปส์ ในช่วงสงครามนีโอซีอ้อนครั้งที่หนึ่งซึ่งคามิวอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถควบคุม โมบิลสูทได้อีก เซต้ากันดั้มซึ่งยังประจำการบนยานอากาม่าได้เป็นโมบิลสูทของนักบินรุ่นใหม่ คือจูโด้ อาชิตะและต่อมาได้เปลี่ยนไปให้ลู ลูก้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น